tag

AEC ประเทศพม่า


AEC ประเทศพม่า

การเปิดประเทศของพม่าช่วงที่ผ่านมา ทำให้นักลงทุนต่างประเทศหลายแห่งสนใจ ทั้งสหรัฐ สหภาพยุโรป (อียู) ญี่ปุ่น รวมถึงกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน เนื่องจากพม่ายังมีทรัพยากรธรรมชาติจานวนมาก ทั้งแหล่งปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรม ส่งผลให้ประเทศคู่แข่งผลิตปาล์มน้ำมัน หรือ ยางพารา ของไทย เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซียนางนฤมล ขรภูมิ ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง กล่าวว่า ขณะนี้ ทางการพม่าได้เปิดสัมปทานให้นักลงทุนจากต่างประเทศเข้าไปเช่าพื้นที่ปลูกพืชทางการเกษตรได้นับล้านไร่ ในบริเวณเขตพื้นที่ย่านตะนาวศรี หรือพื้นที่ทางตอนใต้ของประเทศพม่า โดยทางการพม่าได้มีการแบ่งเขตโซนการเพาะปลูกพืชแต่ละชนิดอย่างชัดเจน ซึ่งขณะนี้ ได้มีการประกาศให้ผู้สนใจสามารถเข้าไปติดต่อแจ้งความประสงค์ขอเช่าพื้นที่เพื่อเข้าไปปลูกพืชเกษตรตามโซนที่กำหนด จากการเข้าไปสารวจก่อนหน้านี้พบว่ามีพื้นที่ ที่เหมาะสาหรับปลูกพืชทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก ที่ทางการพม่าเปิดให้เอกชนจากต่างชาติเข้าไปเช่าพื้นที่ แต่พบว่ายังมีรายละเอียด ขั้นตอนและเงื่อนไขต่างๆ ที่ทางการพม่าได้กำหนดกฎเกณฑ์ไว้ อาทิเช่น จะต้องมีการถ่ายทอดความรู้ด้านการเพาะปลูก การกรีดยาง การทายางแผ่นให้กับชาวพม่าที่สนใจเป็นต้น รวมถึงระเบียบการนำสินค้าที่ผลิตได้ออกนอกประเทศที่ทางการพม่าค่อนข้างจะมีกฎเกณฑ์ที่ละเอียดมาก จำเป็นที่จะต้องศึกษาในรายละเอียด เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหา แต่สิ่งที่จูงใจสาคัญ คือ แรงงานที่มีราคาถูก รวมถึงอัตราค่าเช่าที่ดินที่พม่ากาหนดให้เช่าได้ในระยะยาว 10-30 ปี ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่จูงใจ  
ดังนั้น เพื่อให้ภาคเอกชนที่สนใจเข้าใจในกฎเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ ทางหอการค้าจังหวัดระนอง จึงได้ประสานไปยังหอการค้า จ.เกาะสอง เพื่อร่วมหารือนอกรอบเพื่อพูดคุยในรายละเอียดที่ยังเป็นที่สงสัย ก่อนที่จะเอกชนจาก ระนองจะตัดสินใจเข้าไปเช่าพื้นที่ปลูกพืชเกษตรในฝั่งประเทศพม่า ซึ่งพบว่ามีพื้นที่ที่เหมาะสม อยู่ติดแนวพรมแดนด้าน จ.ระนองกว่าแสนไร่ ซึ่งหากสามารถดาเนินการในเงื่อนไข และกฎระเบียบได้ก็จะส่งผลดีต่อการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มของเกษตรกรที่สนใจจากประเทศไทยที่จะเข้าไปปลูกปาล์มน้ำมันขณะนี้  มีความเคลื่อนไหวจากประเทศคู่แข่งอุตสาหกรรมปาล์มของไทย คือ ประเทศมาเลเซีย ได้เข้ามาเช่าสัมปทานพื้นที่ปลูกปาล์มในประเทศพม่าในย่านเขตตะนาวศรี ที่มีพรมแดนติดกับจังหวัดระนองถึงจังหวัดเกาะสองแล้วไม่ต่ากว่า 200,000 ไร่ เพราะนโยบายและการสนับสนุนของรัฐบาลมาเลเซีย ที่ต้องการขยายพื้นที่การปลูกปาล์มออกนอกประเทศ เนื่องจากพื้นที่ในประเทศที่มีอยู่ไม่สามารถรองรับได้อีกต่อไป ประกอบกับประเทศพม่ากาลังเปิดกว้างให้นักลงทุนจากต่างชาติเข้าไปเช่าพื้นที่ในประเทศพม่าเพื่อปลูกพืชเกษตรได้ โดยเฉพาะปาล์มน้ามัน และยางพารา ก่อนหน้านี้ ภาคเอกชนไทย รวมถึงตนเองก็ได้เดินทางเข้าไปยังประเทศพม่ามาแล้วครั้งหนึ่ง เพื่อดูสภาพพื้นที่ ที่รัฐบาลทหารพม่าประกาศให้สัมปทานระยะยาวในการปลูกพืชด้านการเกษตรโดยเฉพาะปาล์มน้ามัน และยางพาราในย่านเขตตะนาวศรีนับล้านไร่ ซึ่งโดยสภาพพื้นที่มีความน่าสนใจมาก เพราะมีสภาพภูมิศาสตร์ ทาเลที่ตั้งที่เหมาะแก่การปลูกปาล์ม หรือยางพาราเป็นอย่างมาก ซึ่งมีเอกชนไทย ให้ความสนใจเป็นอย่างมากเช่นกัน แต่ที่ผ่านมา ยังไม่กล้าเข้าไปเนื่องจากหวั่นเกรงเรื่องนโยบายของรัฐบาลทหารพม่าที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง หากเข้าไปลงทุนมากๆ โดยไม่มีหลักประกันถือเป็นการเสี่ยงเกินไปที่จะเข้าไป แต่จากที่ราคาสินค้าทางการเกษตรขยับพุ่งสูงขึ้น อีกทั้งผู้ที่เข้าไปก่อนหน้านี้ ไม่มีปัญหาแต่ประการใด ทาให้ขณะนี้ ภาคเอกชนและนักลงทุนจากไทยต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการหาพื้นที่ปลูกพืชเกษตรอย่างปาล์มน้ามันที่มีราคาสูงอยู่ในขณะนี้ รวมถึงยางพารา

ติดตามเราบน Facebook