tag

ประเทศไทยตั้งเป้ายึด ลงทุนพม่า-อินโด 9 อุตสาหกรรมเด่นสู่ อาเซียน




ไทยตั้งเป้ายึดลงทุนพม่า-อินโด 9อุตสาหกรรมเด่นสู่ อาเซีย

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้มีนโยบายทำวาระแห่งชาติและแผนแม่บทประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) พร้อมทั้งให้ทุกกระทรวงเร่งจัดทำแผนรายละเอียดมานำเสนอภายในไม่เกินสิ้นปีนี้ โดยยึดกรอบเออีซีทั้ง 3 เสาหลัก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง และวัฒนธรรม

ศักยภาพ ข้าว, ถั่วเหลือง, ข้าวโพด, กาแฟ, มันสำปะหลัง กับ AEC




ศักยภาพ ข้าว, ถั่วเหลือง, ข้าวโพด, กาแฟ, มันสำปะหลัง กับ AEC 

การยกเลิกกำแพงภาษีและลดอุปสรรคทางการค้าสินค้าเกษตร ภายใต้การเปิดตลาดสินค้าเกษตร หลังการรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) แล้ว ในภาพรวมจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้ฐานการผลิตเดียวกัน การขยายการส่งออก และโอกาสทางการค้าสินค้าเกษตรและบริการ เนื่องจากอาเซียนจัดเป็นตลาดใหญ่มีประชากรรวมกันถึง 580 ล้านคน ทั้งยังเป็นยุทธศาสตร์เศรษฐกิจที่สำคัญและได้รับความสนใจจากประเทศคู่ค้า จนมีการลงนามความตกลงเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน +1 ไปแล้ว 6 ประเทศ ได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, อินเดีย, ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์

ระบบการเงินที่จะเปลี่ยนแปลงเมื่อเปิด AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ระบบการเงินที่จะเปลี่ยนแปลงเมื่อเปิด AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 
การรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 10 ประเทศ 600 กว่าล้านคน หรือ ASEAN Economic Community: AEC ที่จะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 2558 นี้ ซึ่งมุ่งเน้นในอาเซียนเป็นตลาดและศูนย์กลางของฐานการผลิตโลก จึงกลายเป็นอีกเวทีหนึ่งที่นักลงทุนทั่วโลกจับตา
โดยการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งล่าสุด ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่ 26-30 มี.ค.255 ที่ผ่านมา เป็นการรายงานสถานการณ์ล่าสุด ถึงความคืบหน้าของเออีซี

ปัญหาแรงงานข้ามชาติ กับ ประชาคมอาเซียน


ประเด็นเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนมักจะสร้างความสับสนอยู่เสมอ เนื่องจากหลายๆ คนเข้าใจว่าเมื่อมีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการในปี 2558 แล้ว แรงงานต่างด้าวโดยเฉพาะจากเมียนมาร์ สปป.ลาวและกัมพูชา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ (UNSKILLED LABOUR) จะไหลถาโถม เข้ามาทำงานในประเทศไทย และจะเข้ามาแย่งงานคนไทยทำ ซึ่งในความเป็นจริงประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศไม่เคยมีการตกลงแต่อย่างใดที่จะให้มี การเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ แม้จะมีเป้าหมายในการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี ก็เป็นเพียงการตั้งเป้าหมายว่าจะให้แรงงานฝีมือ (SKILLED LABOUR) สามารถเคลื่อนย้าย ได้เท่านั้น

โอกาสของ ธุรกิจ E-commerce เมื่อเปิด AEC ประชาคมอาเซียน (โดยณกฤช เศวตนันทน์)



โอกาสของ ธุรกิจ E-commerce เมื่อเปิด AEC ประชาคมอาเซียน
(โดยณกฤช เศวตนันท
น์)
การทำธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่นําจะมีส่วนชํวยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถอยู่รอดได้ในเวทีอาเซียน โดยอาศัยการลงทุนที่ไม่มากนักแต่สามารถสร้างผลกำไรได้นั่นคือธุรกิจการซื้อขายสินค้าและบริการผํานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือที่รู้จักกันในนาม “อีคอมเมิร์ซ” กล่าวกันว่าในปัจจุบันถ้าบริษัทหรือธุรกิจใดไม่มีหน้าโฮมเพจบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ธุรกิจนั้นย่อมไม่มีตัวตน ไม่มีใครรู้จัก เพราะอินเทอร์เน็ตถือเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารลำดับแรก และข้อมูลข่าวสารอย่างหนึ่งคือข้อมูลเกี่ยวกับตัวสินค้าราคา

ความพร้อมของ อุตสาหกรรมอาหารไทย คิดว่าพร้อมแค่ไหน? ในเวทีอาเซียน


ความพร้อมของ อุตสาหกรรมอาหารไทย คิดว่าพร้อมแค่ไหน? ในเวทีอาเซียน 

ประเทศไทยมีนโยบาย “ครัวไทยสู่โลก” เพราะว่าแต่ละปีเรามีสินค้าหมวดอาหารส่งออกไปทั่วโลกทำรายได้เข้าประเทศปีละนับแสนล้านบาท และปี 2555 จะเป็นปีแรกที่มูลค่าส่งออกอาหารของไทยจะแตะระดับหลักล้านล้านบาท ทั้งยังมีเป้าหมายอีก 5 ปีข้างหน้าคือปี 2560 มูลค่าส่งออกอาหารไทยจะแตะ 2 ล้านล้านบาท การรวมเป็นตลาดเดียวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ในปี 2558 อาหารไทยมีความพร้อมแข่งขันแค่ไหน “เพ็ชร ชินบุตร” ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร ให้สัมภาษณ์ “ฐานเศรษฐกิจ” ไว้อย่างน่าสนใจ

แผนบุก AEC ชู 8 สินค้ายึดตลาดอาเซียน ของกระทรวงพาณิชย์



แผนบุก AEC ชู 8 สินค้ายึดตลาดอาเซียน  ของกระทรวงพาณิชย์ 
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงแผนการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ว่า ได้มีการกำหนดสินค้าเป้าหมายของกระทรวงพาณิชย์ที่จะผลักดันเข้าสู่ตลาด AEC จำนวน 8 กลุ่มสินค้า ได้แก่ อาหาร ชิ้นส่วนยานยนต์ ท่องเที่ยว สุขภาพและความงาม วัสดุก่อสร้างแฟชั่น เฟอร์นิเจอร์และเครื่องตกแต่ง และเครื่องจักรกลเนื่องจากเห็นว่าเป็นสินค้าที่ไทยมีขีดความสามารถ และควรที่จะผลักดันให้ใช้ประโยชน์จาก AEC เป็นฐานการผลิต การค้า และการลงทุน

วิชัย ทองแตง ชงโรดแมพ ชิงฮับ Health Care เอเชีย

วิชัย ทองแตง ชงโรดแมพ ชิงฮับ Health Care เอเชีย 

การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ AEC บทเรียนของนักอสังหาริมทรัพย์ไทย





การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ AEC บทเรียนของนักอสังหาริมทรัพย์ไทย

ในขณะนี้นักพัฒนาที่ดินไทยกำลังวางแผนออกนอกประเทศกันมาก ปัจจัยแห่งความสำเร็จขึ้นอยู่กับอะไร สิ่งที่ต้องระวังก็คือ การบุกตลาดไทยของนักอสังหาริมทรัพย์ต่างชาติ
ในช่วงปี พ.ศ. 2530-2535 นักพัฒนาที่ดินรายใหญ่ๆ ของไทยทั้งที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ขณะนี้ และนักลงทุนรายอื่นต่างมุ่งไปลงทุนอสังหาริมทรัพย์ในจีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และอื่นๆแต่อาจกล่าวได้ว่าไม่มีรายใดประสบความสำเร็จกลับมาเลย สาเหตุแห่งความล้มเหลวคงอยู่ที่การขาดพันธมิตรทางธุรกิจที่ดี ขาดการศึกษาตลาดที่ครบถ้วนและดีเพียงพอ

ธุรกิจการบิน เตรียมตัวสยายปีก รับประชาคมอาเซียน




ธุรกิจการบิน เตรียมตัวสยายปีก รับประชาคมอาเซียน  

ปีที่ผ่านมาเป็นอีกปีที่อุตสาหกรรมการบินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “คึกคัก” เพื่อรอรับกระแสการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ในปี 2558 โดยการเติบโตอย่างรวดเร็วเป็นผลมาจากการขยายตัวของสายการบินต้นทุนต่ำ หรือโลว์คอสต์แอร์ไลน์ รวมถึงการเปิดตัวสายการบินใหม่ 5 รายในภูมิภาคนี้ การเติบโตของธุรกิจที่ผ่านช่วงร้อนแรงที่สุดมาแล้ว อาจทำให้ปี 2556 อัตราอาจไม่สูงเท่าเดิม แต่จะเข้าสู่ภาวะที่เริ่มมั่นคง ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากการเติบโตของเศรษฐกิจในเติบโตของกำลังซื้อผู้บริโภคระดับกลำง

วิเคราะห์ จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC



วิเคราะห์ จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC

1.ประเทศสิงคโปร์
จุดแข็ง
• รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงสุดของอาเซียน และติดอันดับ 15 ของโลก
• การเมืองมีเสถียรภาพ
• เป็นศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ
• แรงงานมีทักษะสูง
• ชำนาญด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล และธุรกิจ
• มีที่ตั้งเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางเดินเรือ
จุดอ่อน
• พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและขาดแคลนแรงงานระดับล่าง
• ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจสูง
ประเด็นที่น่าสนใจ
• พยายามขยายโครงสร้างเศรษฐกิจมายังภาคบริการมากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกสินค้า

โอกาสทอง ธุรกิจท่องเที่ยวไทย ในอาเซียน



โอกาสทอง ธุรกิจท่องเที่ยวไทย ในอาเซียน 

ใกล้ถึงจุดเปลี่ยนผ่านสำคัญที่คนไทยและประเทศร่วมอาเซียนอีก 9 ประเทศ กำลังมุ่งหน้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบในปี 58 ทุกภาคธุรกิจ กำลังจับจ้องจุดเปลี่ยนผ่านนี้ จะกลายเป็น ‘โอกาส” หรือเป็น ‘วิกฤติ” ต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีความเข้มแข็ง และสร้างรายได้มหาศาลให้ประเทศ จนกลายเป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

เรื่องเร่งด่วนในการพัฒนา ASEAN SMEs ให้ก้าวหน้า

    
เรื่องเร่งด่วนในการพัฒนา ASEAN SMEs ให้ก้าวหน้า
     วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) เป็นกลุ่มธุรกิจ ที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากเป็นกลไกหลักที่สนับสนุนการขับเคลื่อนกิจกรรมและการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นแหล่งจ้างงานและการส่งออกที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจเหล่านี้ ดังจะเห็นได้จากตัวเลขเฉลี่ยทางสถิติ พบว่า วิสาหกิจเหล่านี้คิดเป็นร้อยละ 96 ของจำนวนวิสาหกิจทั้งหมดของระบบเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน และมีส่วนสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 42 ของมูลค่ารวมทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ส่งออกร้อยละ 25 ของมูลค่าการส่งออก ทั้งหมด และจ้างงานถึงร้อยละ 73 ของการจ้างงานทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจ เมื่อพิจารณาสถิติสัดส่วน ของจำนวนวิสาหกิจต่อจำนวนประชากร 1,000 คน ในบริบทของแต่ละประเทศสมาชิก จะเห็นได้ว่า ประเทศอินโดนีเซียมีตัวเลขสูงสุดที่ 196.9 ตามด้วยไทย (43.94) สิงคโปร์ (35.15) บรูไน (23.99) และมาเลเซีย (22.89)

AEC กับช่องทางการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน พม่า, อินโดนีเซีย, กัมพูชา




AEC กับช่องทางการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน พม่า, อินโดนีเซีย, กัมพูชา

กฎบัตรอาเซียน ASEAN CHARTER

กฎบัตรอาเซียน ASEAN CHARTER


กฎบัตรอาเซียน เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียนที่จะทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล เป็นการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน โดยนอกจากจะประมวลสิ่งที่ถือเป็นค่านิยม หลักการ และแนวปฏิบัติในอดีตของอาเซียนมาประกอบกันเป็นข้อปฏิบัติอย่างเป็นทางการของประเทศสมาชิกแล้ว ยังมีการปรับปรุงแก้ไขและสร้างกลไกใหม่ขึ้น พร้อมกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กรที่สำคัญในอาเชียนตลอดจนความสัมพันธ์ในการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้ ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนให้สามารถดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวของประชาคมอาเซียน ให้ได้ภายในปี พ.ศ.2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้

8 กลุ่ม ธุรกิจ SMEs แนวโน้มธุรกิจที่ไปได้ดีหลังเปิด AEC


8 กลุ่ม ธุรกิจ SMEs แนวโน้มธุรกิจที่ไปได้ดีหลังเปิด AEC
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้มีการ คาดการณ์SMEsที่มีแนวโน้มดีในปี 2556  ได้แก่
1. กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ จากการขยายตัวของการผลิตรถยนต์ ป้อนผู้สั่งจองในประเทศจากนโยบายรถคันแรก และตลาดในต่างประเทศเริ่มทยอยฟื้นตัว โดยคาดว่าในปี 2556 การส่งออกรถยนต์จะขยายตัวได้มากกว่า 20% ซึ่งSMEsกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และผู้ให้บริการประดับยนต์ ก็จะได้รับประโยชน์ไปด้วย

ผลกระทบต่อธุรกิจการเกษตร ภายหลังเปิด AEC


 ผลกระทบต่อธุรกิจการเกษตร ภายหลังเปิด AEC 


การขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศต่างๆ จะทาให้ไทยขยายตลาดออกไปกว้างมากขึ้น โดยตลาดอาเซียน+6 ช่วยให้ไทยเข้าถึงตลาด 16 ประเทศ ที่มีจำนวนประชากรกว่า 3,300 ล้านคน หรือกว่าครึ่งของประชากรโลก (6,900 ล้านคน)

การเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญภายหลังการรวมตัว เป็น AEC

การเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญ
ภายหลังการรวมตัว เป็นอาเซียน 





รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ได้กล่าวในงานสัมมนา “AEC: จุดเปลี่ยนประเทศไทย” ว่า หลังสงครามเย็นสิ้นสุด 1989 เกิดจดเปลี่ยนไปทั่วโลก เพราะปัญหาเรื่องความมั่นคงจบไปแล้ว และการแข่งขันการค้าแบบจริงจังได้เริ่มขึ้น รัฐบาลไทยโดยคุณอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น ได้เสนอกรอบข้อตกลง AFTA (ASEAN Free Trade Area) ขึ้นมา สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดหากปัญหาสงครามเย็นไม่ยุติลงไป

การลงทุนภายในประเทศไทย เพื่อรองรับการรวมตัวเป็น AEC

การลงทุนภายในประเทศ เพื่อรองรับการรวมตัวเป็น AEC

    
   เป็นที่รับทราบกันโดยทั่วไปว่า ประเทศของเราไม่มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบรางอย่างจริงจังเป็นเวลานานแล้วมีความพยายามทำให้เกิดขึ้นในหลายรัฐบาลแต่ก็ติดปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองและความต่อเนื่องของการทำงาน รวมทั้งข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ พ.ร.บ. เงินกู้ 2 ล้านล้านบาททำให้เกิดความมั่นใจต่อแหล่งเงินทุนที่จะนำมาลงทุนโครงการระบบขนส่งและโลจิสติกส์เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและยุทธศาสตร์ได้

ประวัติ ความเป้น มาของ AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ประวัติ ความเป็น มาของ AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

AEC-ASEAN
AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติใน Asean 10 ประเทศ โดยมี ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, บรูไน เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone นั่นเอง จะทำให้มีผลประโยชน์, อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า (เรียกว่าสินค้าอ่อนไหว)
Asean จะรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลจริงๆจังๆ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ณ วันนั้นจะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างมากอย่างที่คุณคิดไม่ถึงทีเดียว

ประเทศไทย จะรับมือกับ AEC อย่างไร

ประเทศไทย จะรับมือกับ AEC อย่างไร



การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นมากกว่าการเปิดเสรีทางการค้า ที่นอกจากจะส่งผลให้อาเซียน 10 ประเทศ เป็นเหมือนประเทศเดียวกัน ไม่มีกำแพงภาษี ไม่มีการกีดกันทางการค้า สินค้า บริการ การลงทุน แรงงาน มีฝีมือเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี ยังจะประกอบไปด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจหลากหลายสาขา เช่น เกษตร การส่งเสริม SME การคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น ดังนั้นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน

ติดตามเราบน Facebook