สินค้าที่ไทยจะได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ดุลการค้า หลังเปิด AEC
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) เป็นการรวมตัวกันของประเทศในกลุ่มอาเซียนเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในตลาดโลกมากขึ้น ในการดำเนินงานได้มีการจัดทำ แผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า AEC Blueprint โดยเป็น การกำหนดระยะเวลาการลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าของประเทศสมาชิกอาเซียนไว้ 2 กลุ่ม คือ ประเทศในกลุ่มอาเซียน 6 ประกอบด้วย ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และบรูไน ต้องลดภาษีนำเข้าสินค้าให้เป็น 0% ในปี 2553 ส่วนประเทศในกลุ่ม CLMV ประกอบด้วย พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ต้องลดภาษีนำเข้าสินค้าให้เป็น 0% ในปี 2558 เนื่องจากเป็นประเทศกำลังพัฒนา จึงจำเป็นต้องให้เวลาในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต พัฒนาบุคลากร โครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ ดังนั้นทำให้ในปี 2558 อาเซียนจะไม่มีการเก็บภาษีสินค้ากับสมาชิกอาเซียนด้วยกัน ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ทั้งผลกระทบต่อ GDP ของประเทศไทย ประเทศสมาชิกอาเซียน และมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทยซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. ผลกระทบต่อ GDP ของประเทศไทยผลกระทบจากการลดอัตราภาษีเป็น 0% ในปี 2558 ส่งผลให้ GDP ของประเทศสิงคโปร์เปลี่ยนแปลงมากที่สุด โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.80 ส าหรับประเทศไทยนั้นเป็นอันดับสองที่มูลค่า GDP จะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 1.75 รองลงมาเป็น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา ตามลำดับ
2. ผลกระทบต่อมูลค่าการค้าของไทยกับประเทศคู่ค้าในกลุ่มอาเซียน
ผลกระทบต่อมูลค่าการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศคู่ค้าในกลุ่มอาเซียนหลังจากที่ประเทศในกลุ่ม CLMV ซึ่งประกอบด้วย พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ลดภาษีนำเข้าสินค้าให้เป็น 0% ในปี 2558 นั้น ทำให้มูลค่าการส่งออกของประเทศไทยไปยังประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียนมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 4,805.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นการส่งออกไปยังประเทศมาเลเซียเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ 1,334.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาเป็นสิงคโปร์ 1,225.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และอินโดนีเซีย 827.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แยกเป็นรายสินค้าสำคัญ ได้ดังนี้
1) การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ 1,346.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลูกค้าหลักจะเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียน 6 คือส่งออกไปสิงคโปร์เพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 623.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงเป็นมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย 436.8 127.4 และ 80.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ
2) ยานยนต์และชิ้นส่วนจะมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นมากเป็นอันดับสอง คือ 851.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่งออกไปยังอินโดนีเซียและมาเลเซียเพิ่มขึ้นเป็นอันดับต้นๆ
3) ไทยส่งออกเคมีภัณฑ์ ยาง และพลาสติกไปยังอาเซียนเพิ่มขึ้น 579.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังมาเลเซียเพิ่มขึ้น 262.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯส าหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าของไทยจากประเทศในกลุ่มอาเซียนนั้น พบว่ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นเช่นกัน เป็น 3,404.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการนำเข้าสินค้าจากมาเลเซียมากที่สุด รองลงมาเป็น สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 1,121.6 936.1 และ 692.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยหากพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่าเป็นการนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นมากที่สุด 1,185.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ดังนี้
ผลกระทบต่อมูลค่าการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศคู่ค้าในกลุ่มอาเซียนหลังจากที่ประเทศในกลุ่ม CLMV ซึ่งประกอบด้วย พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ลดภาษีนำเข้าสินค้าให้เป็น 0% ในปี 2558 นั้น ทำให้มูลค่าการส่งออกของประเทศไทยไปยังประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียนมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 4,805.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นการส่งออกไปยังประเทศมาเลเซียเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ 1,334.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาเป็นสิงคโปร์ 1,225.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และอินโดนีเซีย 827.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แยกเป็นรายสินค้าสำคัญ ได้ดังนี้
1) การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ 1,346.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลูกค้าหลักจะเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียน 6 คือส่งออกไปสิงคโปร์เพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 623.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงเป็นมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย 436.8 127.4 และ 80.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ
2) ยานยนต์และชิ้นส่วนจะมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นมากเป็นอันดับสอง คือ 851.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่งออกไปยังอินโดนีเซียและมาเลเซียเพิ่มขึ้นเป็นอันดับต้นๆ
3) ไทยส่งออกเคมีภัณฑ์ ยาง และพลาสติกไปยังอาเซียนเพิ่มขึ้น 579.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังมาเลเซียเพิ่มขึ้น 262.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯส าหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าของไทยจากประเทศในกลุ่มอาเซียนนั้น พบว่ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นเช่นกัน เป็น 3,404.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการนำเข้าสินค้าจากมาเลเซียมากที่สุด รองลงมาเป็น สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 1,121.6 936.1 และ 692.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยหากพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่าเป็นการนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นมากที่สุด 1,185.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ดังนี้
1) สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนใหญ่ประเทศไทยจะนำเข้าจากมาเลเซียเพิ่มมากที่สุดเป็น 471.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาเป็นสิงคโปร์ 401.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
2) ปิโตรเลียมจะมีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้น 443.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยนำเข้าจากมาเลเซียเพิ่มขึ้นมากที่สุดและพม่าเป็นอันดับสอง มีมูลค่าเท่ากับ 165.1 และ 157.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3) เคมีภัณฑ์ ยาง พลาสติก และเหล็ก โลหะ จะถูกนำเข้าเพิ่มขึ้นสินค้าละมากกว่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเคมีภัณฑ์ ยาง พลาสติก ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากสิงคโปร์และมาเลเซีย ส่วนเหล็กและโลหะจะถูกนำเข้าจากอินโดนีเซีย และมาเลเซียเพิ่มขึ้นมากที่สุด
เมื่อพิจารณาดุลการค้าของประเทศไทยกับประเทศในกลุ่มอาเซียน หลังจากในปี 2558 ที่ประเทศในกลุ่ม CLMV ลดภาษีเป็น 0% แล้ว พบว่าประเทศไทยมีการเกินดุลมากขึ้น 1,400.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเกินดุลมากขึ้นกับประเทศเวียดนามเป็นอันดับหนึ่ง 316.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาเป็นสิงคโปร์ 288.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯและมาเลเซีย 212.8 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนั้นพบว่าไทยมีการขาดดุลกับพม่าเพิ่มขึ้น 66.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลมาจากการนำเข้าปิโตรเลียมมาจากพม่าเพิ่มมากขึ้น
2) ปิโตรเลียมจะมีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้น 443.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยนำเข้าจากมาเลเซียเพิ่มขึ้นมากที่สุดและพม่าเป็นอันดับสอง มีมูลค่าเท่ากับ 165.1 และ 157.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3) เคมีภัณฑ์ ยาง พลาสติก และเหล็ก โลหะ จะถูกนำเข้าเพิ่มขึ้นสินค้าละมากกว่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเคมีภัณฑ์ ยาง พลาสติก ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากสิงคโปร์และมาเลเซีย ส่วนเหล็กและโลหะจะถูกนำเข้าจากอินโดนีเซีย และมาเลเซียเพิ่มขึ้นมากที่สุด
เมื่อพิจารณาดุลการค้าของประเทศไทยกับประเทศในกลุ่มอาเซียน หลังจากในปี 2558 ที่ประเทศในกลุ่ม CLMV ลดภาษีเป็น 0% แล้ว พบว่าประเทศไทยมีการเกินดุลมากขึ้น 1,400.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเกินดุลมากขึ้นกับประเทศเวียดนามเป็นอันดับหนึ่ง 316.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาเป็นสิงคโปร์ 288.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯและมาเลเซีย 212.8 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนั้นพบว่าไทยมีการขาดดุลกับพม่าเพิ่มขึ้น 66.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลมาจากการนำเข้าปิโตรเลียมมาจากพม่าเพิ่มมากขึ้น
1) ไทยเกินดุลการค้าในสินค้ายานยนต์เพิ่มขึ้น 720.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการเกินดุลกับประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์
2) ดุลการค้าของสินค้าอาหารแปรรูปจะเกินดุลมากขึ้น 398.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3) สินค้าเกษตรและปศุสัตว์มีมูลค่าดุลการค้าเกินดุลมากขึ้น 239.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นการเกินดุลมากขึ้นกับประเทศในกลุ่ม CLMV
4) เคมีภัณฑ์ ยาง พลาสติก เกินดุลมากขึ้น 184.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเกินดุลกับประเทศมาเลเซียมากที่สุด 147.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ขาดดุลกับประเทศสิงคโปร์เพิ่มขึ้น 97.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
5) สินค้าที่ขาดดุลเพิ่มขึ้นคือแร่ต่างๆ ปิโตรเลียม และเหล็ก/โลหะ
2) ดุลการค้าของสินค้าอาหารแปรรูปจะเกินดุลมากขึ้น 398.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3) สินค้าเกษตรและปศุสัตว์มีมูลค่าดุลการค้าเกินดุลมากขึ้น 239.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นการเกินดุลมากขึ้นกับประเทศในกลุ่ม CLMV
4) เคมีภัณฑ์ ยาง พลาสติก เกินดุลมากขึ้น 184.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเกินดุลกับประเทศมาเลเซียมากที่สุด 147.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ขาดดุลกับประเทศสิงคโปร์เพิ่มขึ้น 97.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
5) สินค้าที่ขาดดุลเพิ่มขึ้นคือแร่ต่างๆ ปิโตรเลียม และเหล็ก/โลหะ
การศึกษาพบว่า สินค้าที่ไทยจะเกินดุลการค้า และขาดดุลการค้า หลังจาก ประเทศกลุ่ม อาเซียน ลดภาษี
1) เกินดุลการค้า ได้แก่ เกษตรแปรรูป เกษตรและปศุสัตว์ ประมง เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กโทรนิกส์ สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ ยาง พลาสติก ผลิตภัณฑ์ไม้ ยานยนต์และชิ้นส่วน ปิโตรเลียม และเหมืองแร่
2) ขาดดุลการค้า ได้แก่ เหล็กและโลหะ และสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆและประเทศที่ไทยเกินดุลการค้าและขาดดุลการค้า
1) เกินดุลการค้า ได้แก่ เกษตรแปรรูป เกษตรและปศุสัตว์ ประมง เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กโทรนิกส์ สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ ยาง พลาสติก ผลิตภัณฑ์ไม้ ยานยนต์และชิ้นส่วน ปิโตรเลียม และเหมืองแร่
2) ขาดดุลการค้า ได้แก่ เหล็กและโลหะ และสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆและประเทศที่ไทยเกินดุลการค้าและขาดดุลการค้า
รายการ สินค้า ประเทศเกินดุลมากขึ้น
1. ยานยนต์และชิ้นส่วน อินโดนีเซีย มาเลเซีย
2. เกษตรแปรรูป มาเลเซีย อินโดนีเซีย
1. ยานยนต์และชิ้นส่วน อินโดนีเซีย มาเลเซีย
2. เกษตรแปรรูป มาเลเซีย อินโดนีเซีย
ขาดดุลมากขึ้น
1. แร่ อินโดนีเซีย ลาว
2. ปิโตรเลียม พม่า มาเลเซีย
1. แร่ อินโดนีเซีย ลาว
2. ปิโตรเลียม พม่า มาเลเซีย
3. ข้อเสนอแนะ
1) ควรเร่งให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแก่ทุกภาคส่วนทั้งภาคการผลิต ประชาชนและภาคสังคม เพื่อให้ประเทศสามารถปรับตัวได้ทัน
2) ผลักดันการอ านวยความสะดวกทางการค้าตามแนวชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3) ควรมีการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมไทย ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมต้นน้ำและปลายน้ำ เพื่อประกอบการปรับตัวของภาคการผลิต
1) ควรเร่งให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแก่ทุกภาคส่วนทั้งภาคการผลิต ประชาชนและภาคสังคม เพื่อให้ประเทศสามารถปรับตัวได้ทัน
2) ผลักดันการอ านวยความสะดวกทางการค้าตามแนวชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3) ควรมีการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมไทย ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมต้นน้ำและปลายน้ำ เพื่อประกอบการปรับตัวของภาคการผลิต