การจัดลำดับรายได้ของประชากรในกลุ่มประเทศ AEC
รายได้ประชากรของ สิงคโปร์ และบรูไนจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง สะท้อนถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคในระดับสูง ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ของประเทศทั้งสอง นิยมบริโภคสินค้าที่มีตราสินค้าจากต่างประเทศ รวมทั้งสินค้าที่อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ขณะที่มาเลเซียจัดอยู่ใน กลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูง ผู้บริโภคชาวมาเลยเซียส่วนใหญ่อยู่ในวัยทาน จะให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอันดับแรกสะท้อนได้จากการใช้จ่าย ซื้อสินค้าดังกล่าวในระดับสูง และสำหรับ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และ สปป.ลาว จัดอยู่ในกลุ่ม ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-ต่ำ ขณะที่กัมพูชา และพม่า จัดอยู่ในประเทศที่มีรายน้อย ทำให้ผู้บริโภคในประเทศเหล่านี้กำลังซื้อไม่สูง
สำหรับประเทศที่มีสัดส่วนการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคสูงสุดเมื่อเทียบกับGDP ได้แก่ ฟิลิปปินส์ (74% ของ GDP) เวียดนาม (67%) อินโดนีเซีย (59%) ไทย (55%) มาเลเซีย(50%) และสิงคโปร์ (41%) และเมื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่ เอื้อต่อการลงทุน พบว่าคุณภาพของคนในประเทศอาเซียน สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่สิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย ไทย และฟิลิปปินส์ ตามลำดับ ด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ เอื้อต่อการประกอบธุรกิจในประเทศกลุ่มอาเซียน ได้แก่
1 ประเทศที่ ประชากรมีการใช้คอมพิวเตอร์สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ตามลำดับ
2 ประเทศที่มีสัดส่วนต้นทุนการจัดตั้งธุรกิจต่ำสุดเมื่อเทียบกับรายได้ต่อ บุคคล (GNI Per capita) ได้แก่ สิงคโปร์ (0.7%) ไทย (6.3%) บรูไน (9.8%) มาเลเซีย(11.9%) และลาว (12.3%) ตามลำดับ
3 ประเทศที่ใช้เวลาจัดตั้งธุรกิจน้อยที่สุด ได้แก่ สิงคโปร์ (3 วัน) มาเลเซีย (11 วัน) ไทย (32 วัน) เวียดนาม (50 วัน) และฟิลิปปินส์ (52 วัน)
4 ประเทศที่ มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำสุดคือ สิงคโปร์ (5.4%) บรูไน (5.5%) มาเลเซีย (6.1%) ไทย(7.0%) และฟิลิปปินส์ (8.8%)
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยสามารถอาศัยความได้เปรียบจากความเชียวชาญในการผลิต สินค้า หลากหลายประเภท และสร้างโอกาสในการส่งออกสินค้าไปตลาด AEC โดยเฉพาะกลุ่ม CLMV โดยใช้ประโยชน์จากการเป็นตลาดเดียว โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าไทยที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงเช่น เช่น อาหาร สินค้าเกษตรแปรรูป ชิ้นส่วนยานยนต์ และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์
ที่มา : สถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต