มาเลเซีย เตรียมพร้อมเร่งพัฒนา SMES คว้าโอกาสจาก AEC
มาเลเซียเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีความตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญ ของการเตรียมความพร้อมของ SMEs เพื่อรองรับโอกาสและความท้าทายจากการก้าวสู่ AEC ในปี 2558 รัฐบาลมาเลเซียมีบทบาทอย่างสูง ในการสร้างความตื่นตัวและผลักดันนโยบายส่งเสริม SMEs เพื่อให้สามารถปรับตัวคว้าโอกาสและพร้อมรับมือกับการแข่งขัน
มาเลเซียเคยศึกษาดูงานการพัฒนา SMEs และนาแนวทางการส่งเสริม SMEs ไทยเป็นต้นแบบ และได้จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริม SMEs ระดับชาติ รวมทั้งจัดตั้งธนาคาร SMEs ตามรูปแบบ SME Bank ของไทย
ปัจจุบันมาเลเซียมีหน่วยงานที่ชื่อว่า SME Corp ซึ่งเทียบเคียงได้กับสำนักงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. ของไทย โดยมีหน้าที่กำหนดนโยบาย การส่งเสริม SMEs ประเมินศักยภาพ SMEs เพื่อส่งเสริมรายที่มีศักยภาพให้เข้าสู่ตลาดต่างประเทศได้มากขึ้น และจัดสรรงบประมาณให้กระทรวงต่างๆ เพื่อผลักดันโครงการต่างๆ เกี่ยวกับ SMEs มากขึ้น จุดได้เปรียบสำคัญของ SMEs มาเลเซียคือ สินค้าของมาเลเซียโดยทั่วไป มีความน่าเชื่อถือ ทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐาน ตัวอย่างเช่น SMEs ด้านอาหารฮาลาล มีความสามารถในการแข่งขันสูงและมีต้นทุนการผลิตต่ำ อีกทั้งตราฮาลาลของมาเลเซีย ก็เป็นที่ยอมรับในโลกมุสลิม
อย่างไรก็ตาม SMEs มาเลเซียมีจุดอ่อนด้านความสามารถ ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ ยังอยู่ในระดับต่ำ มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในกระบวนการผลิตน้อย จึงต้องมีการผลักดัน ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น โดยในการให้สินเชื่อจะพิจารณาถึงความสำคัญและความเป็นไปได้ของโครงการเป็นอันดับแรก มิใช่การพิจารณาหลักทรัพย์ค้าประกันเป็นหลัก
ในปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลมาเลเซีย ได้ออกมาตรการสนับสนุน SMEs เน้นการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ กลุ่มสตรี และกลุ่มธุรกิจภาคเกษตรกรรม ภาครัฐสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงภาคการขนส่ง นำไปสู่การลดต้นทุน การพัฒนาทักษะและ เข้าถึงแหล่งเงินทุน มาเลเซียเน้นสนับสนุนการประกอบธุรกิจออนไลน์และใช้ E-Commerce เป็นช่องทางในการกระจายสินค้า สามารถขยายฐานลูกค้าสู่ตลาดใหม่ๆที่มีอ่านาจซื้อ ตัวอย่าง มาตรการสนับสนุน SMEs ตามแผนงบประมาณปี 2556 เช่น การให้เงินสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการสตรีเพื่อส่งเสริมการประกอบธุรกิจออนไลน์ การดำเนินโครงการให้คาแนะนำและฝึกอบรมแก่ผู้ประกอบการเทคโนโลยีสารสนเทศรุ่นใหม่ เป็นต้น
รัฐบาลมาเลเซียได้จัดทำแนวทางการส่งเสริม SMEs ช่วงปี 2554-2558 ในแผนพัฒนาประเทศ ฉบับที่ 10 โดยพุ่งเป้าไปส่งเสริม SMEs มีรายได้เพิ่มขึ้น ผลักดันธุรกิจให้เป็น ที่ยอมรับในระดับภูมิภาคและระดับโลก เป็นฐานในการสร้างรายได้ของประชาชนส่วนใหญ่ โดยขั้นต้น ได้กำหนดเป้าหมายรวมในระดับประเทศให้เพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว จาก 7,000 ดอลลาร์สหรัฐ เป็น 15,000 ดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2563
ปัจจุบัน SMEs มีสัดส่วนถึง 99.2% ของธุรกิจทั้งหมดในประเทศ โดยที่ 87% ของ SMEs เป็นธุรกิจภาคการบริการ ซึ่งภาครัฐคาดหวังว่าจะเป็นตัวผลักดันการเติบโต ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและมาเลเซียเป็นเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกันอย่างใกล้ชิด จากตัวเลขสถิติในปี 2555 การค้าชายแดนระหว่างไทยและมาเลเซียมีมูลค่า 560,655 ล้านบาท ผู้ประกอบการด้านการค้าชายแดนส่วนใหญ่เป็น SMEs 95% ดังนั้น ในอนาคต ไทยและมาเลเซีย ควรร่วมมือกันกำหนด กลยุทธ์การพัฒนาร่วมกันโดยเฉพาะสินค้าอาหารฮาลาล ซึ่งมาเลเซียมีศักยภาพด้านการตลาด ในขณะที่ไทยมีศักยภาพด้านการผลิต นอกจากนั้น ควรร่วมมือกันด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้จากการวิจัยและพัฒนาให้ใช้ประโยชน์บนพื้นฐาน ของการเคารพหลักการของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อเพิ่มผลิตภาพในการผลิตสู่การเติบโตที่ยั่งยืน
การส่งเสริม SMEs ให้มีศักยภาพ สามารถยืนหยัดได้อย่างมั่นคง จะเป็นรากฐานที่สำคัญในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ เพราะแม้ว่าธุรกิจขนาดใหญ่จะประสบ ปัญหาวิกฤตเพียงใด เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศก็ยังอยู่ได้ด้วยรากฐานของ SMEs ที่เข้มแข็ง เหมือนประสบการณ์ในปี 2540 ที่ทั้งไทยและมาเลเซียเคยประสบและก้าวผ่านมาด้วยกัน
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ