tag

อาชีพ ฝ่ายบุคคล (HR) อาชีพฮอตฮิต รับ AEC



อาชีพ ฝ่ายบุคคล (HR) อาชีพฮอตฮิต รับ AEC 
หนึ่งในค้าถามที่มักได้รับในช่วงนี้คือ เมื่อเปิดเป็น AEC ในอีก 2-3 ปีข้างหน้านี้บุคลากรสาขาใดจะเป็นที่ต้องการของตลาดงาน AEC ซึ่งเป็นตลาดงานระดับนานาชาติถึง 10 ชาติในอาเซียน จริงอยู่ที่ตามข้อตกลงของกลุ่ม AEC นั้นมีบุคลากรในสาขาอาชีพ 7 สาขา สามารถเคลื่อนย้ายแสวงหางานในประเทศต่างๆ ได้อย่างมีอิสระ ซึ่ง 7 สาขาอาชีพนั้น คือ แพทย์ ทันตแพทย์ วิศวกร นักบัญชี พยาบาล นักส้ารวจ สถาปนิก
ว่าไปแล้วบุคลากรในสายอาชีพ แพทย์ และวิศวกรที่มีความสามารถสูงก็เป็นบุคลากรระดับ “มันสมอง” ของไทยและหลายประเทศในอาเซียนที่ “ไหล” ออกสู่ประเทศฝั่งตะวันตกซึ่งให้ค่าจ้างสูงกว่าประเทศในเอเชียมานานหลายสิบปีแล้ว แต่ประเทศในอาเซียนก็ยังแก้ปัญหานี้ไม่ตก มองๆ ดูแล้วก็รู้สึกหนักใจว่า พอเราเข้าสู่ AEC กันเต็มตัวในอีก 2 ปีข้างหน้า หากไทยเรายังดูแลบุคลากรใน 7 สายอาชีพนี้ไม่ดีเพียงพอในแง่ของค่าตอบแทน สวัสดิการและการพัฒนาด้านสายอาชีพ ก็มีหวังที่บุคลากรสาขาดังกล่าวที่ภาษาอังกฤษดีอาจถูกซื้อตัวโดยประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย ซึ่งให้ค่าตอบแทนโดยเฉลี่ยสูงกว่าไทย
กลายเป็นว่าประเทศใดใน AEC ที่จ่ายค่าแรงดีที่สุดก็จะมีบุคลากรระดับ Talent มากที่สุด ไทยจ่ายรองลงมาก็มีจ้านวนคนเก่งน้อยลงมาเป็นล้าดับก็ได้ในอนาคตอันใกล้นี้ ทั้งนี้มีสมมุติฐานที่ว่าคนในอาเซียนส่วนใหญ่เห็นเงินเป็นปัจจัยดึงดูดที่ส้าคัญที่สุดนะคะ ซึ่งดิฉันหวังว่าคงไม่เป็นเช่นนั้นกันทุกคนไป
แต่ยังมีบุคลากรในอีกสายอาชีพหนึ่งที่ส้าคัญต่อการเตรียมรับมือกับ AEC ที่หลายองค์กรอาจมองข้าม บุคลากรในสายอาชีพที่ว่านี้ คือ มืออาชีพด้าน HR ต้องขอย้ำว่า “มืออาชีพ”เพราะ HR ที่จะสามารถวางแผนเรื่องการสรรหาคัดเลือก พัฒนา จูงใจและให้ผลตอบแทนแก่บุคลากรหลายชาติ หลายภาษา หลายความคาดหวังที่จะมาท้างานให้กับองค์กรในยุค AEC ต้องมีความรู้ ความสามารถและทักษะในการบริหารบุคลากรระดับนานาชาติ เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงว่าไทยเราและประเทศอื่นๆ ในอาเซียนมีบุคลากรด้าน HR ที่พร้อมจะทำงานในระดับนานาชาติหรือยัง เพราะระดับของการแข่งขันช่วงชิงบุคลากรในระดับ Talent มันขยายอาณาเขตจากแค่ภายในประเทศไปสู่การแข่งขันระหว่างประเทศ
HR ในอนาคตอันใกล้ต้องเก่งภาษาอังกฤษ ต้องเข้าใจภูมิสังคม ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม กฎหมายแรงงานของชาติที่องค์กรต้องเกี่ยวข้องท้าธุรกิจด้วย ซึ่งในเวลานี้ HR ที่มีฝีมือสามารถท้างานกับบริษัทต่างชาติขนาดใหญ่ในประเทศไทยเอง ยังหายากเลย
ในขณะนี้ เราขาดแคลน HR ระดับนานาชาติ และในอนาคตเราก็จะขาดแคลนมากยิ่งขึ้นเพราะเราสร้างไม่ทัน ยิ่งธุรกิจต้องแข่งขันในระดับนานาชาติ ยิ่งแรงงานจะกลายเป็นแรงงานนานาชาติ HR ก็ต้องเก่งระดับนานาชาติ มิฉะนั้นก็จะตามไม่ทันธุรกิจ จะไม่สามารถสรรหาและรักษาคนเก่งที่มาจากต่างชาติ ต่างภาษาได้ ดิฉันจึงเชื่อว่า อาชีพ HR จะเป็นอาชีพฮิตฮอตเป็นที่ต้องการในยุค AEC มีข้อแม้อยู่อย่างเดียว คือ ต้องเก่งจริง
จากการสำรวจเรื่องอัตราค่าตอบแทนของคน HR ในกลุ่มประเทศอาเซียนโดยบริษัท Aon Hewitt พบว่า หากเป็นผู้บริหาร HR ระดับสูง (ประมาณผู้อ้านวยการ หรือ VP) ในแทบทุกประเทศ เงินเดือนจะสูงพอๆ กับ VP ด้านการตลาดและการเงินเลยค่ะ แต่ถ้าเป็นระดับปฏิบัติการ เป็นผู้จัดการชั้นต้น และชั้นกลางจะได้ค่าตอบแทนต่ำกว่าแผนกอื่น ดูแล้วน่าน้อยใจนัก! แต่น้อยใจไปก็เปล่าประโยชน์ สู้มุ่งมั่นพัฒนาตนเองให้มีความสามารถระดับนานาชาติเสียเลยจะดีกว่า
ที่มา :  รศ.ดร.ศิริยุพา รุ่งเริงสุข (กรุงเทพธุรกิจ)

ติดตามเราบน Facebook