tag

อนาคตข้าวไทย หลังเปิด AEC





อนาคตข้าวไทย หลังเปิด AEC 
ข้าวเป็นอาหารหลักของประเทศไทยมาช้านานในสมัยก่อนประวัติศาสตร์โดยค้นพบว่ามีการปลูกในแถบชายฝั่งทะเลอาเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรีราว 2,800 ปีมาแล้ว ยังพบหลักฐานสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่ระบุว่า กว่า 5,500 ปีแล้วที่ได้นำส่วนผสมของแกลบของเครื่องปั้นดินเผาที่บ้านเชียง อาเภอโนนนกทา ตาบลบ้านโคก อาเภอภูเวียง อีกทั้งภาพเขียนในถ้าหรือผนังหินอายุประมาณ 6,000 ปี ที่ผาหมอนน้อย บ้านตากุ่ม ตาบลห้วยไผ่ อาเภอ
โขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ได้รู้จักการเพาะปลูกข้าวเป็นอย่างดีแล้ว นอกจากนี้ นาย Tayada Natabe, Tomoya Akihama และ Osamu Kinosgita แห่งมหาวิทยาลัย Tottri และกระทรวงเกษตรและกรมป่าไม้ เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้สันนิษฐานว่าการปลูกข้าวในไทยมีมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่6 โดยพันธุ์ข้าวที่ปลูกเป็นข้าวเหนียว ในปัจจุบันการปลูกข้าวไทยได้ปรับเปลี่ยนไปเป็นข้าวเจ้า ที่มีชื่อเสียงมากคือ หอมมะลิ มีการปลูกข้าวเจ้าเพิ่มมากขึ้นซึ่งไม่ใช่เพียงประเทศไทยแต่ยังมีประเทศในกลุ่มอาเซียนซึ่งมีสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการปลูกข้าวเหมือนกัน ข้าวเจ้าเป็นธัญพืชที่มีการบริโภคมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากข้าวสาลี ในปี 2554 มีการบริโภครวม 444 ล้านตัน ประเทศที่บริโภคข้าวเจ้าเป็นอาหารหลักจะผลิตข้าวได้เอง และยังเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของประเทศเหล่านั้นอีกด้วย ประเทศที่เป็นแหล่งผลิตข้าวและส่งออกข้าวมากอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะไทยและเวียดนาม อีกทั้งยังมีกัมพูชาคุณสมบัติลาว อินโดนีเซีย และพม่าเข้ามาร่วมแย่งส่วนแบ่งตลาดของ ไทยอีกด้วย
นอกจากนี้หลังวันที่ 1 มกราคม 2558 กลุ่มประเทศเหล่านี้จะกลายเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างสมบูรณ์ ยิ่งทำให้การแข่งขันด้านการผลิตและส่งออกข้าวของกลุ่มประเทศในอาเซียนยิ่งทวีความเข้มข้นมากขึ้น ถึงแม้ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศส่งออกข้าวมากเป็นอันดับหนึ่งของโลกแต่ไม่ควรนิ่งนอนใจ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต การวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันของข้าวไทยและข้าวของประเทศเพื่อนบ้านเพื่อที่จะได้รับรู้ถึงสถานะล่าสุดถึงข้อด้อย-เด่นของข้าวไทยอันจะเป็นประโยชน์ต่อการ พัฒนาประเทศในอนาคต
เวียดนามเป็นประเทศหนึ่งที่มียอดการส่งออกเพิ่มมากขึ้นในปี2555 ส่งออกได้เกือบ 6 แสนตัน (เพิ่มถึง 47% เทียบกับปี 2554)สมาคมอาหารเวียดนามกล่าวว่า ความต้องการของตลาดโลกยังมีอีกมากประกอบกับราคาถูกกว่าข้าวหอมมะลิของไทยถึง 300 ดอลลาร์ต่อตัน ในขณะที่คุณภาพพอๆ กันตลาดรองรับที่เพิ่มขึ้นคือ ฟิลิปปินส์ ส่วนกัมพูชาได้มีรายงานจากสภาพัฒนากัมพูชา (CDC)กล่าวว่า ในปี 2556 ได้ส่งออกข้าวสาร 25,700 ตัน ในเดือนมกราคม เพิ่มขึ้นถึง 165% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี2555 ที่มีปริมาณการส่งออกเพียง 9,700 ตัน โดยมีตลาดรองรับจากจีน และมาเลเซีย ส่วนพม่าในปีงบประมาณ 2555-2556 ในช่วง 10 เดือนข้าวได้ถูกส่งออกไปแล้วกว่า 1.2 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม ปริมาณการส่งออกเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ต้องถือว่าต่ำ โดยไทยส่งออกข้าวเฉลี่ยมากกว่า 10 ล้านตันต่อปี และเวียดนามที่ 7 ล้านตันต่อปี
การเพิ่มขึ้นของปริมาณการส่งออกของกลุ่มประเทศเหล่านี้อย่างต่อเนื่องนี้ ถึงแม้จะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้าลงกว่าเดิม และประเทศไทยยังครองอันดับหนึ่งการส่งออกข้าว จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องให้การสนับสนุนศึกษาวิจัยในการที่จะเพิ่มยอดการผลิตต่อไร่ ซึ่งครอบคลุมถึงจังหวะในการปลูกและเก็บเกี่ยวการควบคุมวัชพืช รวมไปถึงการใช้ปุ๋ยและสารเคมี เนื่องจากการขยายพื้นที่ปลูกเป็นไปได้อย่างจำกัด ถ้าต้องการรักษายอดการส่งออกการเพิ่มผลผลิตต่อไร่จึงจำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังมีการ ควบคุมการบริหารจัดการระบบน้ำชลประทาน รวมทั้งการปล่อยน้ำจากเขื่อนต้องมีประสิทธิภาพเพื่อสามารถให้เกษตรกรสามารถท่านาได้หลายๆ ครั้ง ค่าเงินบาทก็เป็นอีกปัจจัยที่จะกำหนดอนาคตข้าวไทยด้วยเช่นกัน
ที่มา :  สุกัญญา เงาสุรัชนีสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และวิเคราะห์ความเสี่ยง The Institute of Strategies and Analysis of Risk

ติดตามเราบน Facebook