AEC ประเทศมาเลเซีย
จุดแข็ง
- อุตสาหกรรม
ปาล์มน้ำมัน อุตสาหกรรม Bio-diesel เป็นอุตสาหกรรมที่มีระดับการผลิต
เพื่อการส่งออก ที่สูง จนทำให้คลังสำรองปาล์มน้ำมันมีจำนวน ลดลง เนื่องจากปริมาณ
ความต้องการสูงกว่ากำลังการผลิต และยังมีการส่งเสริมด้านวิจัยและพัฒนาตัวสินค้าให้เกิดความหลากหลาย
เช่น การผลิตน้ำมันปาล์มชนิดผง เป็นต้น
- อุตสาหกรรมเกี่ยวกับเทคโนยีในรูปแบบต่างๆ
ที่มีส่วนในการปรับปรุงและยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งมี platform ที่สำคัญ คือ Cyber jaya
- การยกระดับของมาเลเซีย
ในการเป็นศูนย์กลางด้านฮาลาลของโลก และ การวางมาตรฐานสากลสำหรับการกำหนดตราฮาลาล MS
1500 :2004 ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่ดีสำหรับมาเลเซีย
รวมทั้งความน่าเชื่อถือของการเป็นประเทศมุสลิม
สามารถเพิ่มความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคทั้งในและนอกประเทศ
- การจัดการด้าน Logistics
แบบครบวงจร ช่วยสร้างความสะดวกสบายแก่ผู้นำเข้า และส่งออก
มาเลเซียพยายามลดขั้นตอนการดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบสินค้าและการกำหนดคุณภาพ
เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่ลูกค้าในการใช้บริการ Logistics ของตน
จุดอ่อน
- มาเลเซียเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยธรรมชาติและวัตถุดิบ
แต่จำเป็นต้องนำเข้าสินค้าบางรายการที่มีการผลิตไม่เพียงต่อปริมาณความต้องการของตลาดภายในประเทศ
เช่น ยางพาราและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก เป็นต้น
- การลงทุนในมาเลเซีย
ต้องใช้ต้นทุน ที่สูงกว่าประเทศอื่นๆเมื่อเทียบกับประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน
จึงส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติเปลี่ยนมาลงทุน ในประเทศที่ต้นทุนต่ำ
ไม่ว่าจะเป็นด้านวัตถุดิบและแรงงาน อาทิ เวียดนาม ไทยและอินโดนีเซีย
- สินค้าอาหาร
ที่ผลิตในมาเลเซีย ยังมีจำกัดและน้อยมากจำเป็นที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
เพื่อเกิดความหลากหลายและสร้างแรงกระตุ้นให้กับผู้ผลิตภายในประเทศ
- ธุรกิจการท่องเที่ยวของมาเลเซีย
ยังคงจำกัดในวงแคบ เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศไทย
โอกาส
- การพัฒนาการเชื่อมโยงทางอินเตอร์เน็ต
(Internet exchange projects) ซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการใช้อินเตอร์เน็ต
- มาเลเซียพยายามทุกในการเจรจากับบริษัทต่างชาติในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมรถยนต์
เพื่อปรับปรุง ออกแบบและพัฒนาโครงสร้างของรถยนต์
เนื่องจากภาวะการแข่งขันที่ค่อนข้างสูงและการขยายตัวที่น้อยลง
- มาเลเซียสามารถสร้างตลาดในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์และประเทศอาหรับ
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศมุสลิมได้แล้ว แต่กระนั้น ได้มีความพยายามเปิดตลาดแห่งใหม่
ซึ่งมีเป้าหมายในทวีปแอฟริกา
อุปสรรค
- การแข่งขันของตลาดรถยนต์แห่งชาติมาเลเซีย
Proton และ รถยนต์ต่างชาติ ซึ่งมีคุณภาพที่ดีกว่า
ส่งผลให้ยอดขายของรถยนต์แห่งชาติมีจำนวนลดลง
- รัฐ
บาลสร้างนโยบายกีดกันภาษีการขายที่ค่อนข้างสูง สินค้าบางรายการไม่สามารถส่งออกไปยังมาเลเซียได้อย่างเต็มที่
- คู่แข่งรายใหม่ของมาเลเซียด้านเทคโนโลยีอย่างเวียดนาม
ได้รับความไว้วางใจจากนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากต้นทุนที่ค่อนข้างถูก
อีกทั้งการศึกษาที่มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ