สิงคโปร์มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับโอกาสจากการเติบโตของอุตสาหกรรมไอซีทีมาอย่างต่อเนื่องกว่า30
ปี โดยในปัจจุบันมีการดาเนินแผนยุทธศาสตร์การสร้าง “โลกาภิวัตน์อัจฉริยะนคร”
ที่จะแล้วเสร็จในปี 2015
โดยเฉพาะการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจสิงคโปร์ในการใช้ประโยชน์จากการพัฒนาด้านสารสนเทศและการสื่อสาร(Infocomm)
เพื่อการพัฒนานวัตกรรมการแสวงหาพันธมิตรทางธุรกิจ
และการขยายตลาดในต่างประเทศ
ความสาเร็จของการเตรียมความพร้อมของรัฐบาลสิงคโปร์
เห็นได้จากผลสารวจการใช้ประโยชน์ด้านสารสนเทศและการสื่อสารของธุรกิจในปี
2010 ที่พบว่าสัดส่วนของธุรกิจสิงคโปร์ที่ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงถึง % และ 77% ตามลาดับ โดยธุรกิจประมาณ 60%
มีการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งและมีธุรกิจที่ใช้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์และมีการพัฒนาเว็บไซต์ขององค์กรสูงถึง
73% และ 41% ตามลาดับ
ซึ่งจากข้อมูลยังพบว่าธุรกิจในอุตสาหกรรมสารสนเทศและการสื่อสารมีความพร้อมด้านนี้ถึง
100%
ธุรกิจของสิงคโปร์
9 ใน 10 องค์กร
มีการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการส่งและรับอีเมล และการค้นหาข้อมูลต่างๆ
นอกจากนี้ยังพบว่ามีธุรกิจจานวนมากขึ้นเรื่อยๆที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อพัฒนาความร่วมมือภายในองค์กรอาทิการใช้งานระบบซอฟต์แวร์ร่วมกัน
หรือการประชุมผ่านวิดีโอ เป็นต้นในด้านการใช้สมาร์ตโฟน พบว่า
ธุรกิจที่มีการจ้างงานไม่ถึง 10 คนถึงกว่า 81% มีการใช้บริการสมาร์ตโฟน อาทิ
การส่งข้อความสั้น (SMS)ในการเข้าถึงลูกค้า ซึ่งจานวนนี้มาจากอุตสาหกรรมค้าปลีกและค้าส่งถึง22%
นอกจากนี้มีธุรกิจถึง 43% ที่ใช้สมาร์ตโฟนในการรับส่งอีเมล
โดยที่เหลือใช้เพื่อการค้นหาข้อมูลและการพูดคุยผ่านข้อความออนไลน์
จากข้อมูลยังพบอีกว่า
52%
ของธุรกิจใช้บริการการชาระเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งการใช้บริการดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆในสิงคโปร์
สาหรับการฝึกอบรมด้านสารสนเทศและการสื่อสารให้กับพนักงานพบว่า
มีธุรกิจของสิงคโปร์ประมาณ 17% ที่ลงทุนฝึกอบรมด้านนี้ ให้กับพนักงาน
โดยพบว่าธุรกิจขนาดใหญ่จะให้ความสาคัญสูงกว่าธุรกิจขนาดเล็กและยังพบข้อมูลว่าธุรกิจสิงคโปร์เกือบทั้งหมดมีการเพิ่มจานวนวันและค่าใช้จ่ายในด้านการฝึกอบรมให้กับพนักงาน
โดยธุรกิจขนาดใหญ่จะมีการลงทุนในด้านนี้สูงถึง 2 ล้านบาทต่อองค์กรต่อปี
นอกจากนี้ จากผลการสารวจอุตสาหกรรมสารสนเทศและการสื่อสารของสิงคโปร์ปี2010
ยังได้ชี้ให้เห็นถึงขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมด้านนี้ของสิงคโปร์เป็นอย่างดี
โดยพบว่าอุตสาหกรรมสารสนเทศและการสื่อสารของสิงคโปร์มีรายรับมูลค่าเกือบ1.8
ล้านล้านบาท เติบโตสูงขึ้น 12% จากปีก่อนหน้า
โดยอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์มีสัดส่วนสูงสุดคิดเป็น 53%
ในขณะที่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และการให้บริการโทรคมนาคมมีสัดส่วนเท่ากันที่ 16%
สาหรับตลาดภายในประเทศ
มีมูลค่าเกือบ 6 แสนล้านบาท
เติบโตสูงขึ้น 7% โดยมีอุตสาหกรรมบริการโทรคมนาคมมีสัดส่วนสูงสุดคิดเป็น 34%รองลงมาคือการบริการไอที
28% ฮาร์ดแวร์ 25% และซอฟต์แวร์ 8%ในตลาดต่างประเทศ พบว่า
รายรับจากการส่งออกมีมูลค่า 1.2 ล้านบาท เติบโตสูงขึ้น 15%
โดยมีอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์ครองสัดส่วนสูงสุด67% รองลงมาคือซอฟต์แวร์ 20%
การบริการโทรคมนาคม 20% บริการไอที 4% และบริการคอนเทนต์ 1%
รายได้จากการส่งออกมากกว่าครึ่งมาจากการส่งออกไปยังประเทศในเอเชียด้วยกัน
โดยมีภูมิภาคอาเซียนเป็นตลาดหลัก 20% ซึ่งสาหรับตลาดในอาเซียน
สิงคโปร์มีการส่งออกไปยังอินโดนีเซียและมาเลเซีย มีสัดส่วนรวมกันสูงถึง 65%
จากข้อมูลสถิติต่างๆ ที่กล่าวมา
เราคงพอคาดการณ์ได้ว่าเมื่อถึงปี 2015
ซึ่งเป็นปีที่โลกาภิวัตน์อัจฉริยะนครเสร็จสมบูรณ์ สิงคโปร์คงได้ฉลองเอกราชครบ 50
ปีไปพร้อมๆ
กับการประกาศเอกราชเหนือประชาชาติดิจิตอลในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแบบเบ็ดเสร็จ