tag

มาตรการที่จะนำมาใช้เรื่องความปลอดภัยของอาหาร ของ AEC (ASEAN GAP)





มาตรการที่จะนำมาใช้เรื่องความปลอดภัยของอาหาร ของ AEC  (ASEAN GAP)  
ในปี 2549 อาเซียนได้ให้การรับรองการปฏิบัติทำงการเกษตรที่ดีของอาเซียนสาหรับผักและผลไม้สด (ASEAN Good Agricultural Practices for Fresh Fruit and Vegetables: ASEAN GAP) เพื่อใช้เป็นมาตรฐานสาหรับการผลิต การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้ในอาเซียน การปฏิบัติตามที่ระบุไว้ใน ASEAN GAP มีเป้าหมายเพื่อให้มั่นใจว่าผักและผลไม้ที่ผลิตได้ในอาเซียนมีความปลอดภัยในการรับประทำนและมีคุณภาพที่เหมาะสมสาหรับผู้บริโภค นอกจากนี้ ASEAN GAP ยังทำให้มั่นใจได้ว่าอาหารถูกผลิตและจัดการในลักษณะที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสุขภาพ ความปลอดภัย และสวัสดิการของคนงานในสาขาเกษตรและอาหาร

จนถึงปัจจุบัน อาเซียนได้กำหนดมาตรฐานค่าสารพิษตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Limits:MRL) ของอาเซียน สำหรับสารกาจัดศัตรูพืช 61 ชนิด จำนวน 775 มาตรฐาน รวมทั้งได้ให้การรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรของอาเซียน สำหรับมะม่วง สับปะรด ทุเรียน มะละกอ ส้มโอ และเงาะ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผลไม้ดังกล่าวมีความสด โดยมีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมต่อผู้บริโภค หลังจากผ่านขั้นตอนการเตรียมการและการบรรจุหีบห่อแล้ว
นอกจากนี้ อาเซียนได้ให้การรับรองมาตรฐานอาเซียนสาหรับวัคซีนสัตว์ 49 มาตรฐาน เกณฑ์ในการรับรองการทำปศุสัตว์ 13 เกณฑ์ (Criteria for accreditation of livestock establishments) และเกณฑ์ในการรับรองสินค้าปศุสัตว์ 3 เกณฑ์ เพื่อให้เป็นมาตรฐานที่ปรับประสานแล้วของอาเซียน
ความคืบหน้าอื่น ๆ ในสาขาเกษตรและประมง คือ อาเซียนอยู่ระหว่างการเสริมสร้างเครือข่ายการทดสอบอาหารที่ผลิตจากพืชที่ดัดแปรพันธุกรรม การพัฒนาแนวทำงการปฏิบัติในการบริหารจัดการที่ดีสำหรับ กุ้ง การพัฒนาข้อควรปฏิบัติสาหรับการประมงที่มีความรับผิดชอบ (A Code of Conduct for responsible fisheries) และการดำเนินงานตามระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) ในการผลิตอาหารทะเลและผลิตภัณฑ์ประมง ในปี 2547 อาเซียนได้จัดตั้งเครือข่ายกลางด้านความปลอดภัยอาหารของอาเซียน (ASEAN Food Safety Network) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐของประเทศสมาชิกอาเซียนมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านความปลอดภัยของอาหาร

ติดตามเราบน Facebook