tag

ยุทธวิธี ลาวและพม่า ใน AEC


ยุทธวิธี ลาวและพม่า ใน AEC   
ตั้งแต่การเตรียมการในตอนนี้ และเมื่อถึงปี 2558 ที่จะเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือAEC อย่างเป็นทางการ สำหรับSMEsไทยที่กำลังเล็งเปิดตลาดทำธุรกิจกับประเทศในอาเซียน 10 ประเทศนั้น “ลาว” น่าจะเป็นเป้าแรก ๆ ที่มีการมอง และประเทศที่เพิ่งเปิดตัวเองอย่างน่าสนใจคือ “พม่า” นี่ก็น่าจะเป็นอีกเป้าในลำดับต้น ๆ ซึ่งจากการที่รัฐบาลไทยก็มีนโยบายส่งเสริมSMEsไทยเกี่ยวกับAEC ทาง สสว.-สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้มีโครงการศึกษาผลกระทบของนโยบายและกฎหมายของประเทศในอาเซียน ซึ่งกับลาวและพม่านั้น โดยสังเขปก็มีดังนี้


“ลาว” เริ่มปฏิรูปเศรษฐกิจเสรีเมื่อปี 2529 โดยใช้นโยบายจินตนาการใหม่ มุ่งเน้นการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศมากขึ้น และในช่วงปี 2554-2558 อยู่ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 ที่มุ่งจะลดอัตราความยากจน การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ และเตรียมความพร้อมสำหรับการรวมตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะAEC โดยตั้งเป้าหมายว่าจะพาตนเองออกจากบัญชีรายชื่อประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดให้ได้ในปี 2563 ซึ่งเพื่อให้บรรลุเป้าหมายก็มีการดำเนินมาตรการหลายประการ ทั้งการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคที่จำเป็นต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษในหลายเขต ส่งผลให้ต้องมีการวางระบบสื่อสาร คมนาคมขนส่ง สายไฟฟ้า ฯลฯ นี่แผนการพัฒนาระบบการผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำ แผนพัฒนาการทาเหมือง รวมถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
แม้ว่าลาวจะส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ แต่นักลงทุนก็ยังประสบปัญหาสำหรับการลงทุนในลาว เนื่องจากระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่เพียงพอ เส้นทางคมนาคมขนส่งภายในประเทศยังไม่ดี นโยบายของรัฐบาลกลางกับนโยบายของแต่ละแขวงอาจยังไม่สอดคล้องกันในทางปฏิบัติ แรงงานที่มีทักษะและมาตรฐานสำหรับบางอุตสาหกรรมยังมีจำนวนน้อย ขาดแคลนแรงงาน ฯลฯ ส่วนมาตรการทางการค้าที่สำคัญ ประกอบด้วย สินค้าห้ามนำเข้า 8 รายการ ได้แก่ ปืนและอาวุธสงคราม เมล็ดฝิ่น กัญชา โคเคนและส่วนประกอบ เครื่องมือหาปลาแบบดับศูนย์ เครื่องจักรดีเซลใช้แล้ว ตู้เย็น ตู้แช่ สินค้าใช้แล้ว ผลิตภัณฑ์การแพทย์ สารเคมีอันตราย สินค้าที่ห้ามส่งออกมี 4 รายการคือ ฝิ่นและกัญชา ปืนและอาวุธ ไม้ซุงและวัตถุโบราณ และยังมีสินค้าที่ต้องขออนุญาตนำเข้า 18 รายการ และขออนุญาตส่งออก 9 รายการ
“พม่า” รัฐบาลพม่าได้ดำเนินนโยบายในการเปิดประเทศมากขึ้น มีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการส่งเสริมการลงทุนแห่งสหภาพพม่า ทาหน้าที่พิจารณาอนุมัติโครงการลงทุนจากต่างชาติ โดยมีคณะกรรมการการลงทุนจากต่างประเทศเป็นผู้พิจารณาโครงการลงทุนในเบื้องต้น ซึ่งรูปแบบการลงทุนที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลมี 2 รูปแบบคือ 1.การลงทุนที่ชาวต่างชาติถือหุ้น 100% 2.การร่วมทุน ซึ่งแบ่งเป็น การร่วมทุนกับรัฐบาลพม่า โดยนักลงทุนต่างชาติสามารถเจรจาขอร่วมลงทุนได้มากกว่า 35% ของมูลค่าเงินลงทุนรวม และการร่วมทุนกับเอกชนพม่า ซึ่งนักลงทุนต่างชาติสามารถลงทุนในสัดส่วนน้อยกว่า 35% นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในลักษณะที่เป็น BOT (Build Operate and Transfer) ในธุรกิจโรงแรม อสังหาริมทรัพย์ ส่วนการลงทุนที่เป็น PSC (Product Sharing Contract) อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนเฉพาะด้านการสำรวจและขุดเจาะทรัพยากรธรรมชาติออกมาใช้ประโยชน์เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ทาง สสว.ระบุว่า สิ่งที่ยังคงเป็นอุปสรรคสำหรับการลงทุนในพม่า คือความไม่มั่นคงในด้านนโยบายและกฎระเบียบ ความเข้มงวดต่อการทำธุรกรรมทางการเงินของบริษัทต่างชาติ ระบบโครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอ ระบบการดำเนินธุรกิจยังไม่ได้รับการพัฒนาและขาดทักษะ แต่จากการที่ทุกภาคส่วนของพม่าตื่นตัวกับสัญญาณการพัฒนาเศรษฐกิจในครั้งนี้ รัฐบาลพม่าจึงได้ออกมาตรการและแผนงานต่าง ๆ เช่น แผนการปฏิรูประบบภาษีอากร ความร่วมมือกับภาคเอกชน การแปรรูปรัฐวิสาหกิจภายใน 10 ปี และออกนโยบายส่งเสริมSMEs เป็นต้น
ที่มา : เดลินิวส์
ประเทศพม่าแม้จะดูเหมือนประเทศที่ไม่น่าสนใจมากนักในด้านการเข้าไปลงทุน แต่ประเทศพม่ากับมีเสน่ห์ที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยเพราะนับตั้งแต่การปฏิรูปแนวนโยบายของประเทศ จากท่านเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2554 ประเทศพม่าก็ดูเหมือนเป็นประเทศที่ถูกจับตาจากต่างชาติมากขึ้นในทุกแง่มุม
AEC กับประเทศพม่านั้นเป็นเหมือนโอกาสมากกว่าเป็นวิกฤติ เนื่องด้วยพม่าเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่มากและยังไม่ถูกนำไปใช้ประกอบกับประเทศยังมีโอกาสขยายตัวแบบก้าวกระโดด ภาคการเมืองของประเทศพม่ามีทิศทางและแนวทางที่ดีมากขึ้นดูเป็นมิตรต่อนานาชาติมากกว่าเดิม โดยเฉพาะนับตั้งแต่การปล่อยตัวนางออง ซาน ซูจี ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความต้องการของพม่าที่ต้องการเปิดประเทศ แล้วการปล่อยตัวนางออง ซาน ซูจี ก็มีนัตยที่สำคัญหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงถึงความเป็นประชาธิปไตย การเป็นที่ยอมรับของคนในชาติและลดความขัดแย้งของชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศพม่าลง
ในส่วนของเศรษฐกิจประเทศพม่ามีโอกาสที่จะขยายตัวอย่างมาก แต่จะต้องทำควบคู่ไปกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่ยังเป็นปัญหากังวลใจของเหล่านักลงทุนส่วนใหญ่ และอีกส่วนที่จะต้องคอยจับตาดูประเทศพม่าเป็นอย่างมากนั้นก็คือ การที่ประเทศพม่านั้นปิดประเทศมาอย่างยาวนานโครงการต่างๆ ที่นักลงทุนส่วนใหญ่ไปลงทุนนั้นยังมีจำนวนไม่มากนักอีกทั้งเม็ดเงินที่เข้าไปในประเทศพม่าก็ถือว่ามีจำนวนน้อยอยู่มาก
สำหรับประเทศพม่าในตอนนี้การเปิดรับโอกาส และเงินลงทุนจากต่างชาตินั้นถือเป็นโอกาสที่ดีมาก แต่จะสามารถรักษาโอกาสและใช้โอกาสนั้นได้อย่างเหมาะสม และรักษาความเป็นตัวตนและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ โดยไม่ถูกกลุ่มทุนใช้ประโยชน์แต่เพียงอย่างเดียวนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก แต่ด้วยการนำจากประธานาธิบดี เต็ง เส่ง ประเทศพม่าภายใต้ผู้นำที่มีแนวความคิดวิสัยทัศการปฏิรูปประเทศพม่ากับ AEC ในครั้งนี้ เชื่อมั่นว่าประเทศพม่าจะก้าวกระโดดอย่างไม่น่าเชื่อได้อย่างแน่นอน

ติดตามเราบน Facebook