tag

ไทย ดัน เชียงราย เป็นประตู การค้า-ท่องเที่ยว เชื่ออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง



ไทย ดัน เชียงราย เป็นประตู การค้า-ท่องเที่ยว เชื่ออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
    จังหวัดเชียงราย เมืองหน้าด่านการค้าชายแดนของภาคเหนือและประเทศไทย ที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ด้วยภูมิประเทศที่มีพรมแดนติดประเทศเพื่อนบ้านถึง 2 ประเทศ คือ พม่า และสปป.ลาว รวมทั้งยังมีเส้นทางเชื่อมโยงกับจีน (ตอนใต้) ผ่านเส้นทางคมนาคมทางแม่น้ำโขง และถนน R3A ที่เชื่อมระหว่าง อ.เชียงของ จังหวัดเชียงราย และเมืองห้วยทราย แขวงหลวงน้ำทา สปป.ลาว และเมืองบ่อเตน นครคุณหมิง มณฑลยูนนานของจีน


นายบุญธรรม ทิพย์ประสงค์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย กล่าวถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและการค้าชายแดนของจังหวัดเชียงรายและมุมมองและวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการค้าชายแดนของเชียงรายที่น่าสนใจ เมื่อตรวจสอบและเอ็กซเรย์เชียงราย พบว่ามีความพร้อมและศักยภาพด้านการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านสูง ความตื่นตัวกับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือAEC ในอีก 2 ปีข้างหน้ายอมรับว่ามีความสำคัญแต่กว่าจะถึงปี 2558
นอกจากเชียงรายจะมีพรมแดนติดพม่า สปป.ลาว ล้วนแล้วแต่เป็นประเทศที่มีศักยภาพและความต้องการสินค้าจากประเทศไทยสูง ประเทศเหล่านี้ยังเป็นช่องทางสำคัญ ในการส่งสินค้าของไทยไปยังประเทศที่ 3 ทั้ง จีน เวียดนาม และกัมพูชา เชียงรายจึงเป็นฐานที่มั่นสำคัญในการกระจายสินค้าไปยังกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
มูลค่าการค้าชายแดนของเชียงรายผ่านด่านศุลกากรทั้ง 3 ด่าน คือ แม่สาย เชียงแสน และเชียงของ มีสูงถึงปีละ 3 หมื่นล้านบาท มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะมูลค่าการค้าชายแดนผ่านด่านศุลกากรเชียงของที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากจากในรอบปี 2555 เกิดปัญหาความไม่สงบตามลาน้ำโขง ทำให้ผู้ประกอบการสินค้าหันมาขนส่งสินค้าผ่านเส้นทางR3A เข้าทางอาเภอเชียงของแทน คาดว่าหลังจากสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ที่อาเภอเชียงของก่อสร้างเสร็จและเปิดใช้อย่างเป็นทางการมูลค่าการค้าชายแดนที่ผ่านแดนแห่งนี้ จะเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ซึ่งหากมองย้อนกลับไปมองการค้าชายแดนของเชียงรายตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน จนถึงอนาคต ประเทศเพื่อนบ้านที่มีการค้าขายสูงเป็นอันดับต้นๆ คือ พม่า รองลงมา คือ จีน สปป.ลาว แม้สินค้าบางส่วนที่ถูกส่งไปยังพม่า-ลาว จะมีการสวมสิทธิ์เพื่อประโยชน์ทางการค้าในฐานะประเทศที่มีพรมแดนติดกัน ผ่านไปยังประเทศที่สาม คือ จีน กัมพูชา เวียดนาม แต่หากมองถึงศักยภาพของช่องทางการค้าอาเภอแม่สาย ของ เชียงราย และจังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า นับเป็นฐานและช่องทางการส่งออกสินค้าที่สำคัญ ขณะที่เส้นทางคมนาคมทางน้ำผ่านแม่น้ำโขงก็เป็นช่องทางการส่งออกสินค้าที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าช่องทางบก
กฎระเบียบการข้ามแดนของชาวพม่าในปัจจุบันยังอนุญาตให้เดินทางเข้ามายังประเทศไทยห่างจากชายแดนได้เพียง 10 กิโลเมตรเท่านั้น หากสามารถผ่อนปรนเงื่อนไขให้ชาวพม่าเชื่อว่า จะส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ชายแดนได้มากขึ้น เพราะ พม่ามีจำนวนประชากรมากกว่า 60 ล้านคน
หอการค้าฯ ยังมีแผนสนับสนุนและส่งเสริมให้เชียงรายเป็น”ครัวของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง” เพราะมีความพร้อมในการเพาะปลูกมีสินค้าเกษตรที่หลากหลาย ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกันก็มีจำนวนผู้บริโภคที่มีความต้องการสินค้าเกษตรจากไทยสูงเช่นกัน แต่เชียงรายยังมีปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข โดยเฉพาะระบบโลจิสติกส์ หอการค้าฯไม่ได้มองถึงการขยายถนนวงแหวน แต่มองถึงการสร้างเส้นทางคู่ขนานกับเมืองเพื่อเป็นช่องทางในการขนถ่ายสินค้าไปยังอาเภอชายแดนทั้งแม่สาย เชียงแสน และเชียงของ เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าที่จะขยายตัวมากขึ้นในอนาคต
ที่มา :  กรุงเทพธุรกิจ

ติดตามเราบน Facebook