tag

ไทยเร่งตั้ง ‘แฟร์ เทรด’ หวังสร้างกำไรเกษตรกรไทย



ไทยเร่งตั้ง ‘แฟร์ เทรด’ หวังสร้างกำไรเกษตรกรไทย 
การเดินทางเยือนราชอาณาจักรสวีเดน ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม และสหภาพยุโรป(อียู) อย่างเป็นทางการของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 4 – 7 มี.ค.ที่ผ่านมานั้น ประเด็นสำคัญในการเดินทางครั้งนี้คือเรื่องการค้าและการลงทุนโดยรัฐบาลมุ่งหวังสร้างความเชื่อมั่นและแสดงให้เห็นถึงเสถียรภาพรัฐบาลและความมั่นคงทางเศรษฐกิจที่พร้อมรับการลงทุนตามแนวทางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ ซึ่งจุดขายสำคัญคือโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน วงเงิน 2 ล้านล้านบาท ขณะเดียวกันรัฐบาลได้เริ่มต้นการเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) ไทย-อียู ที่ค้างคามาเนิ่นนาน โดยวางกรอบให้การเจรจาแล้วเสร็จภายใน 2 ปี ในการเดินทางครั้งนี้รัฐบาลได้นาภาคเอกชนกว่า 30 รายร่วมคณะไปด้วย เพื่อเจรจาหารือและจับคู่หารือลู่ทางการค้ากับนักธุรกิจ สวีเดนและเบลเยี่ยม ถือเป็นการเปิดตลาดการค้าให้มากยิ่งขึ้น


ทั้งนี้ ตลาดอียูถือเป็นตลาดใหญ่ที่มีความสำคัญกับประเทศไทย โดยมูลค่าการค้าไทย-สวีเดน ในปี 2555 อยู่ที่ 1,504 ล้านดอลลาร์ เป็นการส่งออกของไทย 576 ล้านดอลลาร์ และการนำเข้า 928 ล้านดอลลาร์ ส่วนมูลค่าการค้าไทย-เบลเยี่ยมในปี 2555 อยู่ที่ 1,925 ล้านยูโร เป็นการส่งออกของไทย 1,280 ล้านยูโร และการนำเข้า 645 ล้านยูโร ขณะที่อียูเป็นคู่ค้าลำดับที่ 4 ของไทย มีมูลค่าการค้า 3.22 หมื่นล้านยูโร คิดเป็นสัดส่วน 8.8 ของมูลค่าการค้าทั้งหมด รองจากอาเซียน ญี่ปุ่น และจีน)
นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ระบุว่า ในการเดินทางครั้งนี้ได้นาภาคเอกชนชั้นนำของไทยมาพบปะภาคเอกชนของสวีเดนและเบลเยี่ยม โดยธุรกิจที่ได้รับความสนใจอย่างมาก เช่น ธุรกิจอาหาร พลังงานทดแทน การบริการทางการแพทย์ โดยธุรกิจด้านพลังงานทดแทนเป็นธุรกิจที่ประเทศในแถบนี้มีความเชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีที่ใช้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในไทยได้ ขณะเดียวกันไทยมีวัตถุดิบทางการเกษตรจำนวนมาก สามารถนำมาผลิตพลังงานทดแทนได้ ส่วนธุรกิจบริการด้านการแพทย์นั้น นายกรัฐมนตรีมอบให้กระทรวงสาธารณสุขศึกษาและหารือในรายละเอียดเพิ่มเติม โดยเฉพาะประเด็นประกันสุขภาพที่สามารถส่งต่อไปรักษาที่ไทยได้ด้วยซึ่งธุรกิจนี้ยังเชื่อมโยงไปถึงธุรกิจท่องเที่ยวอีกด้วย
ที่ผ่านมา กลุ่มFair Trade ที่เป็นองค์กรเอกชนของยุโรปได้สั่งซื้อสินค้าทางการเกษตรที่มีคุณภาพโดยตรงจากกลุ่มเกษตรกรของไทย ซึ่งในครั้งนี้เรื่องดังกล่าวมีความเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เมื่อนำมาหารือในการประชุมทีมไทยแลนด์ ซึ่งเป็นการประชุมระดมข้อมูลของส่วนราชการไทยในต่างประเทศ โดยมีเอกอัครราชทูตแต่ละประเทศเป็นหัวหน้าทีมเจรจา และการหารือกับผู้บริหาร Fair Trade ช่วยให้รัฐบาลเล็งเห็นช่องทางการมีส่วนในระบบ Fair Trade มากยิ่งขึ้น
นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนำยกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายโอฬาร ไชยประวัติ ประธานผู้แทนการค้าไทย(ทีทีอาร์) ศึกษารูปแบบการจัดระบบเพื่อจัดตั้งหน่วยงานดูแลเรื่องระบบการค้าที่เป็นธรรมในไทย โดยแนวคิดเรื่อง Fair Trade เกิดจากองค์กรเอกชนที่ต้องการจัดตั้ง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยเฉพาะเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตจะต้องมีกำไรและไม่ถูกเอาเปรียบ ซึ่งตรงกับนโยบายนายกรัฐมนตรีในการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมเพื่อให้เกษตรกรสามารถอยู่ได้ แต่การผลิตสินค้าจะต้องได้มาตรฐานและเป็นสินค้าที่มีคุณภาพด้วยเช่นกัน
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อธิบายเพิ่มเติมว่า ระบบ Fair Trade จะสอดรับกับระบบโซนนิ่งการเกษตรซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ เพื่อปลูกพืชให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และต้องเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ โดยปัจจุบันอียูได้ขึ้นทะเบียนข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห๎เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(จีไอ) ส่งผลให้ข้าวหอมมะลิของไทยเป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น หมายความว่าต่อไปการปลูกผลผลิตทางการเกษตรต้องเน้นที่คุณภาพ ไม่ใช่เน้นปริมาณเหมือนในอดีต
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

ติดตามเราบน Facebook